top of page

PROFILE

รายละเอียดของศูนย์อยู่ดี

ชื่อศูนย์

(ไทย)  ศูนย์ศึกษาสถาปัตยกรรมผังเมืองและสิ่งแวดล้อม (ศูนย์อยู่ดี)

(อังกฤษ)  Urban Design and Environmental Studies Center (UDEsc)

 

ขอบเขตงานของศูนย์

         มุ่งเน้นงานวิจัยและการศึกษาด้านนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมผังเมือง, สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสรรค์สร้าง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองอย่างยั่งยืนเป็นรูปธรรมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

 

วัตถุประสงค์ของศูนย์

- เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในด้านการวิจัยและศึกษาด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองและสิ่งแวดล้อม

- เพื่อเป็นแหล่งในการเปลี่ยนผ่านระหว่างความรู้เชิงวิชาการและวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองในระดับประเทศและนานาชาติ

- เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในด้านการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ข้อมูลพลเมืองในศูนย์ฯ

Urban Design and Environmental studies Center

ดร.ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์

หัวหน้าศูนย์

จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design) จากมหาวิทยาลัยซากะ, ญี่ปุ่น ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho) ในปี 2560. เชี่ยวชาญในเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเขตเมืองเก่า, การอนุรักษ์เมืองและภูมิสัณฐานเมืองรวมถึงวากยสัมพันธ์ของพื้นที่ (Space syntax)
เป็นสมาชิกภาพในหลากหลายสมาคมเช่น สถาบันสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น(AIJ), สมาชิกสามัญสภาสถาปนิกไทย, สมาคมสถาปนิกผังเมือง ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นจากสถาบันวางผังเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น, บทความนำเสนอดีเด่นในที่ประชุมวิชาการ 9th Lowland Technology, ทุนสนับสนุนการนำเสนอบทความ ณ ประเทศอิตาลีจากสมาคมศิษย์เก่าม.ซากะ รวมถึงเป็นกรรมมาธิการสถาปนิกล้านนา วาระ 2561-2563 และกรรมาธิการสมาคมสถาปนิกผังเมืองล้านนา วาระ 2560-2562

จันทร์จิรา สุขไหว

นักวิจัยสมทบ

จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการออกแบบภูมิภาค จากมหาวิทยาลัยซากะ, ญี่ปุ่น และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design) ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Mext Honors Scholarship) เชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการมีส่วนรวม และการวางผังเมืองผ่านจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม
ได้นำเสนอผลงานวิชาการในเวทีนานาชาติประเทศมาเลเซีย The International Conference on Sustainable Urban Design and Livable Cities ในปี 2560 และร่วมงานวิจัยหลายโครงการเช่น โครงการผังเมืองและความมั่นคงทางอาหาร, โครงการเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน, การศึกษาพฤติกรรมการต่อเติมด้านหน้าอาคาร เพื่อจัดทำแนวทางการควบคุมด้านหน้าอาคารในพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ : พื้นที่ศึกษาถนนท่าแพ เป็นต้น

bottom of page